การต่อเติมครัว
สำหรับหลายคน เมื่อซื้อบ้านจัดสรรหรือทาวโฮม มักประสบปัญหาพื้นที่ใช้งานไม่เพียงพอต่อความต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ห้องครัว หรือโรงจอดรถ มักจะต่อเติมในภายหลัง ซึ่งก่อนจะแก้ปัญหาพื้นที่จำกัดด้วยการต่อเติมนั้น ควรคำนึกถึงกฎหมายอาคารซักนิดก่อนคิดจะต่อเติมเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด จนต้องเกิดการรื้อถอน หรือข้อพิพาทระหว่างผู้พักอาศัยหลังอื่นๆ
ในบทความนี้เราจะพื้นถึงการต่อเติมพื้นที่ครัว ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปทำให้การออกแบบทาวนโฮมหรือบ้านจัดสรรต่างๆ มักออกแบบให้พื้นที่ทำครัวมีขนาดที่เล็กลงซึ่งสอดคล้องกับการใช้ชีวิตของคนในยุคปัจจุบันที่ทานข้าวหรือซื้อหากับข้าวมาจากนอกบ้านแล้ว แต่เมื่อครอบครัวใหญ่ขึ้นจำเป็นต้องมีพื้นที่สำหรับประกอบอาคาร จึงก่อให้เกิดความต้องการการใช้พื้นที่เพิ่มจึงนำมาสู่การต่อเติมพื้นที่ครัว วันนี้ เราจะมาแนะนำการต่อเติมครัวที่ถูกต้องตามกฎหมายอาคาร ก่อนอื่นเราจำเป็นจะจ้องรู้จักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกันก่อน
กฎหมายในการต่อเติมอาคาร
การต่อเติมหรือดัดแปลงอาคาร จำเป็นต้องได้รับการอนุญาตจากทางราชการ ซึ่งผู้เป็นเจ้าของต้องไปขออนุญาตจากทางเขตเทศบาลหรืออบต. ของพื้นที่นั้นๆ แต่ก็มีต่อเติมบ้านโดยไม่ต้องขออนุญาต คือ
1. การดัดแปลงขนาดพื้นบ้าน การลดหรือการขยายเนื้อที่ของพื้นชั้นหนึ่งชั้นใด ให้มีเนื้อที่น้อยลง หรือมากขึ้น รวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร โดยไม่ลดหรือเพิ่มจำนวนเสาหรือคาน
2. การดัดแปลงหลังคาบ้าน การลดหรือการขยายเนื้อที่ของหลังคา ให้มีเนื้อที่มากขึ้นรวมกัน ไม่เกิน 5 ตารางเมตร โดยไม่ลดหรือเพิ่มจำนวนเสาหรือคาน
ส่วนการต่อเติมที่มีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 5 ตารางเมตร จำเป็นต้องขออนุญาตจากทางราชการ
อ้างอิง
[1] พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๔ “ดัดแปลง” หมายความว่า เปลี่ยนแปลงต่อเติม เพิ่มลด หรือขยายซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ ของโครงสร้างของ อาคารหรือส่วนต่างๆ ซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม และมิใช่การซ่อมแซมหรือการดัดแปลงที่กำหนดในกฎกระทรวง
[1] พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๔ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานและสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
[1] พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๔ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า
(๑) นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล
(๒) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สำหรับในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(๓) ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล สำหรับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
(๔) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร
(๕) นายกเมืองพัทยา สำหรับในเขตเมืองพัทยา
(๖) ผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดสำหรับในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
[1] พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๒๑ “ผู้ใดจะก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดำเนินการตาม มาตรา ๓๙ ทวิ”
[1] กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒
ข้อ ๑ การกระทำดังต่อไปนี้ ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคาร คือ
(๑) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอาคารโดยใช้วัสดุขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับของเดิม เว้นแต่การเปลี่ยนโครงสร้างของอาคาร ที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก คอนกรีตอัดแรงหรือเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ
(๒) การเปลี่ยนส่วนต่าง ๆ ของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้างของอาคาร โดยใช้วัสดุชนิดเดียวกับของเดิม หรือวัสดุชนิดอื่นซึ่งไม่เป็น การเพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างของอาคารเดิมส่วนหนึ่งส่วนใดเกินร้อยละสิบ
(๓) การเปลี่ยนแปลง การต่อเติม การเพิ่ม การลด หรือการขยายซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ของส่วน ต่าง ๆ ของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้างของอาคาร ซึ่งไม่เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างของอาคารเดิมส่วนหนึ่งส่วนใดเกินร้อยละสิบ
(๔) การลดหรือการขยายเนื้อที่ของพื้นชั้นหนึ่งชั้นใดให้มีเนื้อที่น้อยลงหรือมากขึ้นรวมกันไม่เกินห้าตารางเมตรโดยไม่ลดหรือเพิ่มจำนวนเสา หรือคาน
(๕) การลดหรือการขยายเนื้อที่ของหลังคา ให้มีเนื้อที่มากขึ้นรวมกันไม่เกินห้าตารางเมตร โดยไม่ลดหรือเพิ่มจำนวนเสาหรือคาน
ปัญหาที่อาจตามมาจากการต่อเติมที่ผิดวิธี
- ทรุดตัวของอาคารไม่เท่ากัน
- ทำให้โครงสร้างของอาคารเดิมและส่วนต่อเติมฉีกขาดออกจากกัน
- ปัญหาการรั่วซึม